Esanhouse
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Go down

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Empty ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ตั้งหัวข้อ  Admin Sun Mar 21, 2010 12:39 am

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี


ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Im_cul10


อัครสถานแห่งความสวยงาม
หรูหรา และทันสมัย ความลงตัว
ผสมผสานระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความคิด สร้างสรรค์
นับเป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์แห่งแรก
ของจังหวัดอุบลราชธานี

ขอต้อนรับทุกท่าน
สู่บรรยากาศเสียงพิณ เสียงแคน แห่งแดนอีสาน
ที่ท่านจะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น
และเปี่ยมด้วยมิตรภาพ

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ภายในจุแน่นด้วยข้อมูล ความรู้ และเป็นศูนย์กลางการประชุม สัมมนาทางวิชาการ โรงละคร ห้องจัดเลี้ยง สังสรรค์ทุกรูปแบบ งานพิธีมงคลสมรส ห้องอาหาร คอฟฟี่ช็อป ห้องพักในรูปแบบ โรงแรมระดับ 5 ดาว และหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ด้วยการตกแต่งอย่างปราณีต ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยเน้นความสวยงาม ตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ ผสานแนวคิดในการใช้พื้นที่ให้ได้ประโยช์อย่างเต็มที่ ทั้งยังแฝงด้วยความหรูหราอย่างมีระดับ พร้อมบริการท่านด้วยห้องพักรับรอง 38 ห้อง ทั้งห้องสูท ห้องเดอลุกซ์ และห้องมาตรฐาน เตียงเดี่ยว เตียงคู่ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ แอร์ มินิบาร์ ตู้เย็น ห้องน้ำ (น้ำเย็น-น้ำอุ่น) เคเบิ้ลทีวี โทรศัพท์ภายในประเทศ และต่างประเทศ ทุกอย่างพร้อมต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ตลอด 24 ชั่วโมง

ติดต่อสอบถามและสำรองห้องพัก ห้องประชุม / จัดเลี้ยง ได้ที่
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ถนนแจ้งสนิท อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร.045-352031 หรือ 045-262901-2 โทรสาร 045-262903
ผู้จัดการ พิสมร ใจธรรม โทร. 01-9677379

ช่วงเวลาไม่กี่ปี มานี้ ผู้ที่ผ่านไปมาทางหอนาฬิกา หน้าสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ไปตามถนนแจ้งสนิท จะมองเห็นอาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้คำว่า "มหึมา" ทางด้านขวาโดดเด่นสง่างาม ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า

- อาคา รมหึมาหลังนี้ มีความมุ่งหมายในการสร้างเพื่อประสงค์ใด?
- ใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างจำนวนเท่าใด?
- เหตุใดจึงมีลักษณะทางศิลปะ แตกต่างกับอาคารอื่นๆ ในสถาบันเดียวกัน?
- ภายในอาคารมีทั้งหมดกี่ชั้น แต่ละชั้นใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง?
- รูปลักษณะศิลปะที่ปรากฏเป็นศิลปะแบบใด? สมัย ใด?
- ทำไมต้องใช้ศิลปะแบบนี้ มีแนวความคิดเรื่องนี้ อย่างไร?
- อาคารนี้มีชื่อว่าอย่างไร? มีวัตถุประสงค์ประการ ใดบ้าง?
- การลงทุนสูงเช่นนี้ มีเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะ อย่างไร?
- เนือหาสาระทางศิลปวัฒนธรรมมีประการใดบ้าง?
- การบริหารจัดการ มียุทธศาสตร์และกลยุทธอย่างไร?
ฯลฯ

คำถามที่ยกมาเป็นตัวอย่างดังกล่าวนี้ เชื่อว่าชาวอุบลฯ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจสิ่งก่อสร้างแปลกใหม่ใหญ่โต คงจะต้องการความกระจ่าง เพื่อคลี่คลายข้อสงสัยต่างๆ หลากหลายประการ จึงขอให้หาคำตอบ จากข้อมูลที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ซึ่งมีหน้าที่บริหาร ดำเนินการอาคารอลังการที่กล่าวถึงข้างต้น ดังต่อไปนี้

ความเป็นมาและลักษณะทางกายภาพของอาคารฯ

สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี ได้งบประมาณแปรญัตติ ปี 2540 จำนวน 94.8 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี (2540-2542) สถาบัน ได้ไห้นายอำนวย วรพงศธร อาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เป็นผู้ออกแบบ ตามแนวคิดของคณะกรรมการสำนักศิลปวัฒนธรรม และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2541 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เมื่อเวลา 09.39 น. โดยได้รับเมตตานุเคราะห์จากพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสระเกษวรมหาวิหาร เจ้าคณะใหญ่ภาคตะวันออกเป็นองค์ประธานในพิธี

ตัวอาคารเป็นอาคาร คสล.สูง 7 ชั้น พื้นที่ใช้สอยภายในตัวอาคาร 12,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 7 ไร่ครึ่ง แบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยชั้นต่างๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 ห้องนิทรรศการถาวร, นิทรรศการหมุนเวียน, ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ รวมพื้นที่ 2,461 ตารางเมตร
ชั้นที่ 2 ห้องราชภัฏอุบลราชธานี, ห้องอาหาร, ห้องรับรอง, ห้องประชุมอเนกประสงค์ ฯลฯ รวมพื้นที่ 2,777 ตารางเมตร
ชั้นที่ 3 ห้องเรียนรวม, ห้องเรียนเล็ก, ห้องเรียนกลาง, ห้องพักอาจารย์ ฯลฯ รวมพื้นที่ 1,976 ตารางเมตร
ชั้นที่ 4 ห้องปฏิบัติธรรม, ห้องประชุมเล็ก, ห้องประชุมกลาง ฯลฯ รวมพื้นที่ 1,704 ตารางเมตร
ชั้นที่ 5 ห้องโถง, ห้องพัก 17 ห้อง ห้องสำนักงาน ฯลฯ รวมพื้นที่ 1,246 ตารางเมตร
ชั้นที่ 6 ห้องพัก 21 ห้อง, ห้องเก็บของ, ห้องสำนักงาน ฯลฯ รวมพื้นที่ 1,506 ตารางเมตร
ชั้นที่ 7 ห้องประชุมใหญ่ (Convention) และอื่นๆ รวมพื้นที่ 1,160 ตารางเมตร

มิติทางด้านความคิดและความเชื่อ

พสกนิกรในแอ่งอารยธรรมอุบลราชธานี และชาวอีสานทั้งมวล ต่างสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น โดยขอน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว "การรักษาวัฒนธรรม คือการรักษาชาติ" มาเป็นแนวกำหนดปรัชญาและความคิดพื้นฐาน ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี ดังนี้

1. คนเผ่าไทยสร้างวัฒนธรรมไทย การพัฒนาวัฒนธรรม คือการพัฒนาชาติ
2 วัฒนธรรมเพื่อคนทั้งมวล และคนทั้งมวลจักต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และสืบทอดวัฒนธรรมไทย
3. วัฒนธรรมคือพลังของสังคมทางด้านภูมิธรรมและภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาชาติ
4. วัฒนธรรมเป็นพลังที่สร้างสรรค์สังคมไทยสู่สังคมโลก สู่สันติภาพและสันติสุข
5. การเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสรรสร้างและพัฒนาวัฒนธรรม ด้วยการมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีศักยภาพสูง จักมีพลังในการสืบส่งภูมิธรรม ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมแก่ปวงชนอย่างมีประสิทธิภาพ
6. วัฒนธรรม คือรากเหง้าของสังคมท้องถิ่น การพัฒนาวัฒนธรรม เป็นการสร้างความมั่นคงและสันติสุขแก่ประเทศชาติและสังคมโลก

วัตถุประสงค์ของอาคารฯ

สืบเนื่องจากความคิดความเชื่อดังกล่าว การมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก จึงมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมแห่งอุบลราชธานี อีสานและอนุภาคกลุ่มน้ำโขงที่มีศักยภาพสูงและครบวงจร
2. เป็นศูนย์พัฒนาคน เพื่อการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม สู่สันติภาพและสันติสุข
3. เป็นศูนย์การศึกษาและวิจัย ศิลปวัฒนธรรมของแอ่งอุบลราชธานีและอีสาน
4. เป็นศูนย์ข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม แอ่งอุบลราชธานีอีสาน และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
5. ให้บริการทางด้านวิชาการ ข่าวสาร ข้อมูล และกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม แก่ท้องถิ่นอุบลราชธานี อีสานและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
6. เป็นหน่วยงานหลัก ในการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม กับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ
7. เป็นศูนย์ประสานและบริการ การท่องเที่ยวและการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรม ในแอ่งอุบลราชธานีและภาคพื้นลุ่มน้ำโขง
8. เป็นศูนย์ประสานงาน เพื่อการศึกษาและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
9. เป็นสถาบันรวมจิตรวมใจ และสร้างสำนึกทางด้านศิลปวัฒนธรรม แก่คนเมืองพระ เมืองนักปราชญ์ เมืองคนดี และสืบส่งสู่ลูกหลาน เยาวชน ในแอ่งอุบลราชธานี อีสาน และบุคคลทั่วไป
10. สร้างมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของอุบลราชธานี มรดกอีสานไว้เป็นมรดกของชาติและมรดกโลก

เอกลักษณ์ของศูนย์และลักษณะเฉพาะ

อุบลราชธานี เป็นเมืองที่มีสกุลศิลป์ ที่สืบสานมาตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านแปงเมือง คือสกุลศิลป์ วัดทุ่งศรีเมือง มีการถ่ายทอดกันมา ตามวิถีแห่งศิลปะพื้นถิ่นอีสาน (ตามมีตามเกิด) ผสมผสานกับศิลปะไทยจากกรุงเทพฯ อย่างกลมกลืน จนดูไม่ออกว่า อะไรคือไทย ซึ่งเป็นธรรมชาติของศิลปวัฒนธรรม แต่งานศิลปะอุบลราชธานี ก็ยังคงทำหน้าที่บ่งบอก ความเป็นศิลปะอุบลราชธานี อันโดดเด่นอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังได้เผยแพร่ไปยังถิ่นอื่น โดยคณะช่างศิลป์คณะต่างๆ อย่างเงียบๆ ศิลปะไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมฯ ของชาติใด หรือท้องถิ่นใดก็ตาม เป็นองค์วัตถุ หรือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เป็นสื่อแสดงความคิด ความเชื่อและจิตวิญญาณ ของชนชาติหรือท้องถิ่นนั้นๆ ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งแวดล้อมที่สร้างความภูมิใจ ชื่นชมของคนชาตินั้น หรือท้องถิ่นนั้นเท่านั้น แต่หากเป็น การบ่งบอกให้คนจากถิ่นอื่นได้รับรู้ เรียนรู้ ชื่นชมภูมิใจ ในความมีศิลปวัฒนธรรม และอารยธรรม อันลำค่าอีกด้วย ดั้งเดิมเราได้ชื่นชมศิลปกรรมด้านต่างๆ จากวังและวัด ซึ่งเป็น "สถาบันการศึกษา" แม้เมื่อเราสร้างสถาบันการศึกษารุ่นแรก เรายังไม่ละเลยในศิลปกรรมไทยประยุกต์ในตึกเรียน เช่น ตึกนาค คณะอักษรสาสตร์จุฬาฯ ตึกเรียนของโรงเรียนวชิราวุธ ฯลฯ แต่ในชั้นหลังได้ละเลยไปเสียสิ้น การสร้างใส่ศิลปกรรม ในอาคารสถาบันอุดมศึกษา เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอารยประเทศ สืบทอดกันมานานนับหลายศตวรรษ แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ผลที่ได้รับ ในด้านสุนทรียะหรือทางด้านจิตพิสัยในระยะยาวนั้น มากมายสุดประเมินค่าเป็นเงินได้

การสร้างศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก เป็นอาคารอเนกประสงค์ที่ใหญ่โตอลังการฯ อาจจะไม่ใช่ลักษณะสถาปัตยกรรมอีสานแท้ แต่เป็น "สถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์" โดยเฉพาะ การมียอดเป็นพระธาตุ และพญานาคบนหลังคานั้น เป็นสัญลักษณ์ของดวามอุดมสมบูรณ์ สุขกายสบายใจ ช่วยปกปักรักษาภัยพิบัติ ปัดเป่าความเดือดร้อนให้แก่ ไพร่บ้าน ประชาชนพลเมือง และแขกผู้มาเยี่ยมเยียน ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข และอำนวยชัยให้สร้างบ้านแปงเมือง เป็นไปด้วยความเจริญรุ่งเรืองและวัฒนาถาวรสืบต่อไป

ด้วยมติทางความคิด ความเชื่อและวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาคารและองค์ประกอบของศูนย์ จึงมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ดังนี้

1. อาคารเป็นศิลปอีสานประยุกต์ ที่มีลักษณะบ่งบอกถึงความทรหดอดทน ซื่อสัตย์ เปิดเผย และตรงไปตรงมา หลังคาและภายนอกอาคาร ตกแต่งด้วยศิลปะอีสานสกุลอุบลราชธานีประยุกต์
2. มีวิญญาณและมีพลัง ทั้งตัวอาคารภูมิทัศน์ภายนอก จักมีชีวิตชีวา ท้าทายความอยากรู้อยากเห็น มีพลังพร้อมที่จะสืบส่ง สำนึกแห่งความดีงาม ความถูกต้อง ความรัก ความสามัคคี สู่ลูกหลานและบุคคลทั่วไป
3. พึ่งตนเองได้ ด้วยกิจกรรมหลากหลาย ครบวงจร สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิศรี
4.เป็นสถาบันทางศิลปวัฒนธรรม ที่เกิดจากพลังราษฏร์ร่วมแรงรัฐพัฒนา ด้วยความพร้อมจิตรวมใจจากทุกฝ่าย ทั้งตัวอาคารภูมิทัศน์ภายนอก และเนื้อหาสาระทางด้านศิลปวัฒนธรรมต่างๆ
5. ใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมและบริการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

มิติด้านเนื้อหาสาระทางศิลปวัฒนธรรม

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี มีกิจกรรมครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ 9 เรื่อง ดังนี้

1. นิทรรศการถาวร ได้แก่ นิทรรศการทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปราชญ์ ศาสนา การศึกษาอุบลราชธานี ฯลฯ
2. นิทรรศการชั่วคราว ได้แก่ นิทรรศการทางศิลปวัฒนธรรม ในวาระสำคัญต่างๆ นิทรรศการตามโครงการพิเศษ ที่จัดขึ้นโดยนักศึกษา ประชาชน หน่วยงานของรัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ
3. การแสดงบนเวทีในห้องประชุมอเนกประสงค์ได้แก่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยว การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากบุคคล สถาบัน หรือคณะการแสดงทั้งภายในและนานาชาติ ฯลฯ
4. กิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกหัด อบรม และการให้บริการการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ และการสาธิต กิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
5. กิจกรรม การศึกษาวิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าวิจัย และให้การสนับสนุนการวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การให้บริการคำปรึกษาและข้อมูล การสร้าง สนับสนุน ส่งเสริม ยกย่อง และเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
6. กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมและจัดเก็บเป็นระบบ ด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม รวมเป็นเครือข่ายข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรม และการให้บริการข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
7. กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ การประสานสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรม กับองค์กรภายในและภายนอกประเทศ ฯลฯ
8. กิจกรรมบริการชุมชน ได้แก่ การให้บริการห้องพัก จัดงานพิธี จำหน่ายของที่ระลึก (Gift Shop Center) และการให้บริการการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
9. กิจกรรมการประสานงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การเป็นเครือข่ายกับองค์กรทางศิลปวัฒนธรรมระดับชาติ ภูมิภาคและระดับโลก เป็นแม่ข่ายประสานและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับสถาบัน/องค์กรทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ

ยุทธศาสตร์ : ราษฏร์ร่วมแรงรัฐ พัฒนาศิลปวัฒนธรรม

การสร้างวัฒนธรรม และวัฒนธรรมสร้างชาติ การที่รัฐบาลได้ให้งบประมาณก่อสร้าง อาคารศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การพัฒนาตกแต่งภายใน ภูมิสถาปัตย์ภายนอกอาคาร และการจัดเนื้อหาสาระภายในตัวอาคาร ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ที่จะเป็น "แหล่งการเรียนรู้ขนาดใหญ่" ด้านศิลปวัฒนธรรม จะต้องใช้งบประมาณดำเนินการ ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี จะเป็นผู้ประสานให้ประชาชน องค์กรชุมชนทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้มีส่วนร่วมสร้าง สถาบันทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ ตามกำลังศรัทธา ทั้งนี้เพื่อให้ "ศิลปวัฒนธรรมเป็นของทุกคน สร้างสรรค์จรรโลงโดยคนทุกคน เพื่อความสงบสุขและสันติภาพของคนทุกคน" สืบไป

กลยุทธ : ร่วมกันคิดร่วมกันทำเป็นปฏิบัติบูชา

การดำเนินงานเพื่อความสำเร็จ มีแนวทาง ดังนี้

1. ร่วมแรงคิด ได้แก่ การประสานกับผู้รู้ทุกฝ่าย เพื่อขอบริจาคพลังภูมิปัญญาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่จะจัด
2. วางแผนงานในแต่ละโครงการ และกิจกรรม นำเสนอรายละเอียด ผังกิจกรรม อุปกรณ์ ตลอดจนประเมินค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด
3. ประสานทั่วทิศ ได้แก่ การประสานกับบุคคล องค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุน
4. น้อมจิตร่วมใจปฏิบัติ ได้แก่ ร่วมมือกันปฏิบติ/สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้ดีและสมบูรณ์ที่สุด
5. ขจัดอคติทั้งปวง คือการร่วมกันขจัดอคติทั้งปวง มุ่งมั่นทำสิ่งต่างๆ ด้วยศรัทธาและปัญญา
6. เพื่อในหลวงของปวงประชาชาวไทย ทุกคนทุกหมู่ ทุกแหล่ง มุ่งมั่น "ปฏิบัติบูชา" ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระ "กาญจนาภิเษก" วาระพระชนมายุครบ 72 พรรษา และตราบเท่าจิรัตติกาล

ข้อมูลโดย...สุขวิชช คูณผล
วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
เดือนมกราคม 2545
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 53
Join date : 20/03/2010

http://esanhouse.canadaboard.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Empty โรงแรมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

ตั้งหัวข้อ  Admin Sun Mar 21, 2010 12:44 am

โรงแรมศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Ubonar10

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี
ข้อมูล มีห้องอาหาร ห้องประชุมสัมมนา และที่พักสวยงาม... 38 ห้อง , ราคา : 700 - 1250 บาท
ที่อยู่ ถนนแจ้งสนิท อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 0 4526 2423-32 แฟกซ์: 0 4531 1472

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Toyz1410
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 53
Join date : 20/03/2010

http://esanhouse.canadaboard.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ