Esanhouse
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เรือนไทยภาคอีสาน

Go down

เรือนไทยภาคอีสาน Empty เรือนไทยภาคอีสาน

ตั้งหัวข้อ  Admin Sat Mar 20, 2010 11:03 am

เรือนไทยภาคอีสาน



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

เรือนไทยภาคอีสาน 14px-Pictogram_voting_wait_orange.svg
เรือนไทยภาคอีสาน 300px-ThaiNEhouseเรือนไทยภาคอีสาน Magnify-clip

เรือนไทยภาคอีสาน





เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

  • ลักษณะชั่วคราว

สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่"
ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา
จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้
มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

  • ลักษณะกึ่งถาวร

คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้
เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า "
ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น
เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่
เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง
คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป
แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก
แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง
จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน

  • ลักษณะถาวร

เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ
เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน
เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้งสองด้าน
รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง
[แก้] เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน



  • ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
  • ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
  • ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ

ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ
[แก้] องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน


1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • 1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
  • 1.2 ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
  • 1.3 ห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่า ห้องส่วม มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้

ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ
2. เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม
เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก
หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ
อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน
3. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน
โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน
แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน
ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก
4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่
แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก
ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง
สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน
การต่อเชื่อมของชายคาทั้งสองหลังใช้รางน้ำ โดยใช้ไม้กระดาน 2 แผ่น
ต่อกันเป็นรูปตัววีแล้วอุดด้วยชันผสมขี้เลื่อย
ในกรณีที่เรือนไม่มีครัวก็สามารถใช้พื้นที่ส่วนเรือนโข่งนี้ทำครัว
ชั่วคราวได้
5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด
6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ
มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด
บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน"
ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
7. เสาแฮก (แรก) เสาขวัญ จะยึดเสาคู่ในทางตะวันออก
เสาแฮกจะอยู่ด้านในซึ่งเป็นด้านขยายตัวเรือนออกเป็น เฉลียง ชาน
ถ้ากรณีหันหัวนอนไปทางทิศใต้ตำแหน่งเสาแฮก-เสาขวัญจะสลับกันกับเสาลักษณะแรก
การเลือกเสาคู่นี้ต้องเลือกเสาที่ดี วิธีผูกเสาแฮก-เสาขวัญ
การผูกเสาจะใช้สิ่งที่เป็นมงคลและที่มีความหมายเป็นศรีแก่เรือนและผู้อยู่
อาศัยให้มีความเป็นสิริมงคลเช่น ใบยอ ใบคูน ยอดอ้อย กล้วย ไซใส่เงิน-ทอง
อัก (เครื่องมือสำหรับเก็บด้ายทอผ้า)
[แก้] ดูเพิ่ม








ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99".

หมวดหมู่: เรือนไทย
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 53
Join date : 20/03/2010

http://esanhouse.canadaboard.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ